iii thing of identity
ความทรงจำ : MEMORY
นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสนามว่า เตโอดุล-อาร์ม็องด์ ริโบต์ ( ได้ตีพิมพ์ข้อเขียนที่ชื่อว่า Les Maladies de la mémoire (1881) ออกมา ผลงานชิ้นนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ‘ความทรงจำ’ เป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานทางชีวภาพของมนุษย์ การจดจำได้สร้างบุคลิกและความเป็นตัวเรา ซึ่งทำให้เราแต่ละคนนั้นแตกต่างและแบ่งแยกออกมาจากคนอื่นๆ ริโบด์ได้ชี้ชัดลงไปว่า ความทรงจำบันทึกอยู่ในสมองและระบบประสาทอันซับซ้อนของเรา


ความรู้สึก : FEEL
ระบบอารมณ์และความรู้สึก มีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกตามอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการต่างๆ มีทฤษฎีทางจิตวิทยาทฤษฎีหนึ่งที่สามารถอธิบายระบบนี้ได้เป็นอย่างดีนั่นคือ ทฤษฎีระบบอารมณ์และความรู้สึกของอับราฮัม มาสโลว์ ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแบรนดีส์เขามีแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ คือ บุคคลเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการความต้องการเป็นเหตุจูงใจต่อการแสดงออกของพฤติกรรม โดยความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจะเป็นเหตุจูงใจต่อการแสดงออกของพฤติกรรม ส่วนความต้องการที่ได้รับการสนองตอบแล้วจะไม่เป็นเหตุจูงใจต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมอีกต่อไป
การปลดปล่อย : UNRAVEL
ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดในการปลดปล่อยอารมณ์นี้คือ
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งสำนักจิตวิเคราะห์ กล่าวว่าการปลดปล่อยอารมณ์ขันคือทางออกของการปลดปล่อยความก้าวร้าวที่สะสมและถูกกดไว้ออกมาในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้ เพราะมันช่วยลดความตึงเครียดทางจิตของเราที่สั่งสมไว้
